ตั๊กแตนใบไม้อยู่ในสกุล Phyllium มีลักษณะรูปร่างน่าสนใจมาก พวกมันมีรูปร่างเหมือนใบไม้และลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งถือเป็นการแสดงพฤติกรรมการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด (ลอเรนซ์ เมาน์, 2536) ตั๊กแตนใบไม้เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ด้านการป้องกันตัว โดยใช้เทคนิคการพรางตัว เป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์และพืช ที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 47 ล้านปี ตั๊กแตนใบไม้จึงถูกนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา ตลอดจนใช้ในการนันทนาการและการนำไปเลี้ยงเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ ตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงอีกชนิดที่มีการซื้อขายกันด้วยราคาสูง จึงเป็นแรงจูงใจให้มีการจับแมลงดังกล่าวจากธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและตายแล้ว เพื่อนำไปขายให้กับนักสะสมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ตั๊กแตนใบไม้เริ่มตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการคุกคาม (กองบรรณาธิการ, 2548) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของตั๊กแตนใบไม้ในสกุลนี้ จึงจัดให้ตั๊กแตนใบไม้ทั้งสกุลอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่กำหนดให้การนำเข้าหรือส่งออกซึ่งซากหรือตัวที่มีชีวิต ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, 2535)
ไข่ตั๊กแตนใบไม้มีสีชมพูอมน้ำตาล ลักษณะคล้ายเมล็ดพืชบางชนิด ทรงเหลี่ยม ขนาดไข่ ยาวเฉลี่ย 0.375 ± 0.013 เซนติเมตร กว้าง 0.013 ± 0.008 เซนติเมตร มีฝารูปวงกลมจะเปิดเมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่
ตั๊กแตนใบไม้ตัวเมีย ปกติจะไข่ต่อเนื่องกันเกือบทุกวัน อีกทั้งพบว่าตัวเมียจากธรรมชาติที่เลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน สามารถออกไข่ได้โดยไม่ผ่านผสมพันธุ์กับตัวผู้
ระยะเวลาที่ใช้ในการฟัก
พฤติกรรมการฟักไข่ ตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่เกือบทุกวันต่อเนื่องกัน ตัวอ่อนฟักออกจากไข่มากในช่วง 2 - 4 วันแรก ไข่จากตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์ พบว่ามีช่วงการฟักไข่และช่วงวันที่ตัวอ่อนออกจากไข่แตกต่างกันตามฤดูกาล ผลการศึกษาจากตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์ มีรายละเอียดดังนี้ ตัวเมียตัวที่ 1 ออกไข่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 มีระยะเวลาฟักไข่ 81.9 ± 5.7 วัน ช่วงที่ฟักเป็นออกตัว 18 วัน
ตัวเมียตัวที่ 2 ออกไข่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 มีระยะเวลาฟักไข่ 114.6 ± 8.2 วัน ช่วงที่ฟักเป็นออกตัว 20 วัน
ตัวเมียตัวที่ 3 ออกไข่เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 มีระยะเวลาฟักไข่ 116.5 ± 19.8 วัน ช่วงที่ฟักเป็นออกตัว 61 วัน
ระยะเวลาที่ใช้ในการฟักไข่ ของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว เฉลี่ย 101.0 ± 11.2 วัน (จากตัวเมียตัวที่ 1 - 3)
ตัวเมียตัวที่ 4 ออกไข่ กันยายน 2549 ระยะเวลาที่ใช้ในการฟักไข่ ของไข่ที่ไม่ได้รับการผสม 260 วัน (ไข่ฟองแรกที่ฟักออกเป็นตัวอ่อน) ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัย
ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า มีตัวอ่อนที่ได้จากจากตัวอ่อน ที่ฟักจากไข่ของตัวเมียตัวที่ 1 เพียง 1 ตัว (ฟักจำนวน 14 ตัว รอดตาย 3 ตัว) มีระยะเวลาของการพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยนาน 287 วัน
สวยจังนะ
ตอบลบอยากได้ไว้ดูสักตัวจัง
อยากรุจักแมลงตัวอื่นบ้าง
ตอบลบหาให้ดูหน่อยนะ